โครงการประเมินและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ข่าว TEDET

โครงการ TEDET จัดกิจกรรม Creative STEAM Camp

  

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โครงการประเมินและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (TEDET) จัดกิจกรรม Creative STEAM Camp ขึ้นให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 ณ สนามกีฬา B Pro บางนา กรุงเทพมหานคร นักเรียนที่เข้าร่วมทุกคนจะได้ทำกิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัติ (Hands-on) และต้องบูรณาการความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การเป็นนักคิด นักสร้างสรรค์ และนักสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนาและสร้างสรรค์จากประเทศเกาหลีใต้
            กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. ดร. พลกฤต กฤชไมตรี รองผู้อำนวยการ สสวท. ดร. ชัยวุฒิ เลิศวนสิริวรรณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. อาจารย์ดวงสมร คล่องสารา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษอาวุโส สสวท. อาจารย์จุรีกร ลรรพรัตน์ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ สสวท. อาจารย์ชมัยพร ตั้งตน ผู้เชี่ยวชาญสาขาคณิตศาสตร์ สสวท. อาจารย์นารี วงศ์สิโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท. อาจารย์รวิวรรณ เทนอิสสระ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท. อาจารย์พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ สสวท. คุณจินตนา พรรักษมณี กรรมการผู้จัดการ และคุณสุพจน์ อารยะประยูร กรรมการบริหาร บริษัท เอดู พาร์ค จำกัด Mr. Richard Chong (Director, Global Education Department) และ Mr. David Yoon (Manager, Global Education Division 2) จาก CMS Edu Company Limited ประเทศเกาหลีใต้ มาร่วมให้กำลังใจนักเรียน โดยมีนักเรียนและผู้ปกครองให้ความสนใจและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน โครงการ TEDET ขอขอบพระคุณท่านผู้ปกครองและนักเรียนทุกคนที่เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้


อาจารย์ชมัยพร ตั้งตน
กล่าวรายงาน


ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร
กล่าวเปิดงาน


อาจารย์ดวงสมร คล่องสารา 
กล่าวให้กำลังใจนักเรียน


Mr. Richard Chong 
กล่าวให้กำลังใจนักเรียน


ดร. วิทยา กาญจนภูษากิจ 
รับหน้าที่เป็นพิธีกร

 

            เริ่มกิจกรรมด้วยการแบ่งกลุ่มนักเรียน และให้ทำความรู้จักกับเพื่อนในทีม โดยต้องช่วยกันออกแบบป้ายประจำตัว คิดสโลแกน และท่าประจำทีมของตนเอง

 

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญประจำฐาน (จากซ้ายไปขวา)
1. อาจารย์วัฒนา ศรีกลิ่น 2. อาจารย์รุจิภาส บวรทวีปัญญา 3. อาจารย์ธิดาพร ศุภภากร
4. อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ 5. อาจารย์ระวี สุวรรณเดโชไชย

 กิจกรรมในช่วงเช้า เป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องร่วมมือกันทำงานเป็นทีมแบบลงมือปฏิบัติ (Hands-on)
โดยมีกิจกรรมทั้งหมด 4 ฐาน ได้แก่

ฐานที่ 1 – Sliding Penguins


ได้รับเกียรติจากอาจารย์รุจิภาส บวรทวีปัญญา อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรประจำฐาน นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนในเรื่องของการแก้ปัญหา การคำนวณที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หลากหลายวิธี


 ฐานที่ 2 – Welcome to LED City


ได้รับเกียรติจากอาจารย์ธิดาพร ศุภภากร อาจารย์ภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากร
ประจำฐาน นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจพื้นฐานในเรื่องของการเขียนโปรแกรม (Coding) อย่างง่าย

 

ฐานที่ 3 – Circuit Maze


ได้รับเกียรติจากอาจารย์วัฒนา ศรีกลิ่น นักวิชาการอิสระ เป็นวิทยากรประจำฐาน ในฐานนี้นักเรียน
ได้คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้เทคโนโลยี


 ฐานที่ 4 – STEAM Relay


ได้รับเกียรติจากอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ระวี สุวรรณเดโชไชย อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรประจำฐาน ในฐานนี้มีทั้งหมด 3 กิจกรรม โดยนักเรียนต้องแบ่งหน้าที่กันแก้ปัญหาในแต่ละกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 – Reaching a Target with Laser ศึกษาและทำความเข้าใจสมบัติของเครื่องหมาย
กิจกรรมที่ 2 – Create Expression ฝึกทักษะการสร้างประโยคสัญลักษณ์การบวก และการลบตามชิปตัวเลขและเครื่องหมายที่กำหนดให้
กิจกรรมที่ 3 – Directing Traffic เข้าใจความสำคัญของการคล่องตัวของการจราจรผ่านการแก้ปัญหาปริศนา

 

  

กิจกรรมในช่วงบ่าย นักเรียนได้เรียนรู้หลักการ พร้อมประกอบชิ้นงานเป็นรายบุคคล โดยแบ่งเนื้อหาออก
ตามระดับชั้น ได้แก่


ระดับชั้น ป.3 ม้าหมุน (Create Carousel) – เรียนรู้หลักการทำงานของมอเตอร์และการนำมาประยุกต์ใช้
ในการสร้างม้าหมุน


ระดับชั้น ป.4 รถพลังงานลม (Wind Energy Car) – เรียนรู้หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในการสร้าง

รถพลังงานลม


ระดับชั้น ป.5 เครื่องยิงพลังยาง (Catapult) – เรียนรู้หลักการในเรื่องของคานที่นำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเครื่องยิง


 ระดับชั้น ป.6 ปั้นจั่น (Making a Hoop) – เรียนรู้หลักการที่นำมาใช้ในการสร้างระบบรอก


เมื่อเรียนรู้หลักการในการสร้างชิ้นงานแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผน เสนอแนวคิด เพื่อออกแบบชิ้นงานโดยการนำความรู้และหลักการจากกิจกรรมรายบุคคลมาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งนำเสนอต่อวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

 



นอกจากนักเรียนได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์พร้อมความสนุกสนานจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้ปกครองยังได้เห็นถึงพัฒนาการ รวมทั้งทักษะต่าง ๆ ของนักเรียนระหว่างทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอีกด้วย

 


บรรยากาศกิจกรรม Creative STEAM Camp


 

 

 

 


ความรู้สึกของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม


 

 

 


ความรู้สึกของผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม